วันที่ 30 ตุลาคม 2567 ณ.ที่ห้องแถลงข่าวสภาผู้แทนราษฎร รัฐสภา รศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฏร รองประธานและโฆษกกรรมาธิการการศึกษา สส. ถนอมพงค์ หลีกภัย พรรครวมไทยสร้างชาติ ได้ยื่นร่างพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ ฉบับรวมไทยสร้างชาติ รื้อ ลด ปลด สร้าง ให้กับ นาย วันมูหะมัดนอร์ มะทา ประธานสภาผู้แทนราษฎร
ร่างพรบ. การศึกษาแห่งชาติ ฉบับรวมไทยสร้างชาติ ฉบับนี้ มุ่งพัฒนาส่งเสริม ยกระดับคุณภาพการศึกษา และที่สำคัญคือ การสร้างการศึกษาที่ตอบโจทย์ ทั้งในระดับพื้นที่ ผู้ประกอบการและผู้เรียน
สำหรับเนื้อหาหลักที่สำคัญสำหรับที่เพิ่มเข้าไปนี้คือ
รื้อ ปรับปรุงกฎหมาย
– หลักการพัฒนาการศึกษาเพื่อสนับสนุนตอบสนองความต้องการในพื้นที่ ในเขตจังหวัด และความต้องการจากภาคธุรกิจ การค้า การลงทุน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะความรู้สอดคล้องกับความต้องการในพื้นที่เขตจังหวัดและความต้องการจากภาคธุรกิจ การค้า การลงทุน
– หลักการพัฒนาการศึกษาร่วมกับผู้ประกอบการหรือผู้ทรงคุณวุฒิ และส่งเสริม สนับสนุนมาตรการด้านสิทธิประโยชน์ภาครัฐ เพื่อสร้างแรงจูงใจให้ผู้ประกอบการหรือผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาอาชีพ มีส่วนร่วมในการเป็นผู้สอน เพื่อถ่ายทอดความรู้ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง เพื่อให้ผู้เรียนได้รับการถ่ายทอดความรู้จากผู้มีประสบการณ์และมีความเชี่ยวชาญ
ลด -ลดภาระครูในการรับการประเมินผลการปฎิบัตงาน โดยให้ประเมินจากผลการปฎิบัติงานและการสอนตามปกติ โดยไม่ต้องทำเป็นงานวิจัยหรือจัดทำเป็นรายงาน และการประเมินผลการปฎิบัติงานจะต้องไม่เป็นภาระของผู้รับการประเมินเกินสมควร
ปลด – ปลดล็อคความอึดอัด ในการพัฒนาศักยภาพในความเป็นเลิศนอกเหนือจากผลการเรียนของผู้เรียน เช่น มาตรา 36
ในกรณีที่ผู้เรียนมีความเป็นเลิศในด้านอื่นนอกเหนือจากการเรียนและประสบความสำเร็จในระดับจังหวัด ระดับประเทศ ระดับนานาชาติ หรือสร้างชื่อเสียงที่ดีให้กับสถานศึกษาให้สามารถนำผลความสำเร็จของผู้เรียนมาร่วมพิจารณาในการวัดและประเมินผลการเรียนได้
สร้าง -สร้างระบบการเรียนการสอนที่ตอบโจทย์ทิศทางของประเทศ สอดคล้องกับความต้องการของพื้นที่ ในระดับจังหวัดและภาคธุรกิจ
การจัดการศึกษาของชาติให้ยึดหลัก ม.7 (8) หลักการพัฒนาการศึกษาเพื่อสนับสนุนตอบสนองความต้องการในพื้นที่ในเขตจังหวัดและความต้องการจากภาคธุรกิจการค้าการลงทุน
การจัดการศึกษาแห่งชาติ ม.7(9) สร้างแรงจูงใจให้กับผู้ประกอบการหรือผู้ทรงคุณวุฒิในแต่ละสาขาอาชีพ มีส่วนร่วมในการเป็นผู้สอน เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง
ซึ่งเนื้อหาที่เพิ่มเติมได้ครอบคลุมเกี่ยวกับเรื่องที่ผมให้ความสำคัญมาตลอดคือ เรื่องการศึกษาที่ตอบโจทย์ พื้นที่ ผู้ประกอบการและผู้เรียน “สส.ดร๊าฟดวงฤทธิ์” เชื่อว่าร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ เมื่อผ่านสภาจะเป็นประโยชน์ต่อ ประชาชน ชุมชน ท้องถิ่น ต่อสังคม และประเทศชาติต่อไป.
#https://u-hit.net/