PR NEWS
หลักสูตร IDIT ม.รังสิต จัดกิจกรรม Thingyan 2024
หลักสูตร International Digital Innovation Technology วิทยาลัยนวัตกรรมดิจิทัลเทคโนโลยี (นานาชาติ) มหาวิทยาลัยรังสิต จัดกิจกรรม “ตะจาน” หรือ Thingyan ในช่วงเดือนสงกรานต์ตามขนบธรรมเนียบประเพณีของชาวพม่าแต่โบราณ และถือเป็นวันขึ้นปีใหม่ “ตะจาน” คล้ายกับประเพณีสงกรานต์ในประเทศไทยและประเทศอื่นในภูมิภาคเดียวกัน ภายในงานมีกิจกรรมการแสดงทางวัฒนธรรมจากนักศึกษาชาวพม่า การแจกขนมโหมะน์โล่นเยบอ ซึ่งเป็นขนมที่ทำรับประทานในช่วงเทศกาล และการเล่นสาดน้ำคลายร้อน เปรียบเหมือนเป็นการลบล้างสิ่งไม่ดีจากปีเก่าเพื่อความเป็นสิริมงคล ในสมัยอดีตจะใช้การเล่นสาดน้ำอย่างเบา ๆ โดยใช้ยอดหว้าอ่อนชุบใส่น้ำปรุงแล้วแตะเบา ๆ บนไหล่ของผู้ที่จะเล่นสาดน้ำด้วย ณ อาคารหอสมุด (อาคาร 7) มหาวิทยาลัยรังสิต #https://u-hit.net/
ม.รังสิต จัดกิจกรรม RSUnival 2024
สำนักนานาชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมด้วยสถาบันศิลปวัฒนธรรมและพัฒนาสังคม จัดกิจกรรม RSUnival 2024 ชอบ กิน ชมการแสดงจากนักศึกษามหาวิทยาลัยรังสิต และเล่นน้ำชุ่มฉ่ำ ต้อนรับเทศกาลสงกรานต์ ภายในงานพบกับกิจกรรมมากมาย อาทิ International Food Festival โดย วิทยาลัยฮอสปิตอลลิตี้ RSU International Costume and Performance Day โดย วิทยาลัยศิลปศาสตร์ การแข่งขัน “มวยทะเล” International Food Festival International Music Festival โดย วิทยาลัยดนตรี การแสดงศิลปวัฒนธรรม โดย ศูนย์สุวรรณภูมิศึกษา การแสดงวัฒนธรรมพื้นเมือง และการแสดงนานาชาติ Songkran Festival with EDM ตลาดนัด และอื่นๆ ณ บริเวณหน้าอาคารอาทิตย์
คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดรับสมัครน้องนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย ปวช. ปวส. ร่วมกิจกรรม Business Camp Ep.1 “สร้างนักบริหารและผู้ประกอบการรุ่นเยาว์“ จัดขึ้นในวันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2567 เวลา 08.00 – 17.30 น. ณ ห้องสุริยเทพ ศาลาดนตรีสุริยเทพ (อาคาร 17) มหาวิทยาลัยรังสิต ภายในงานมีกิจกรรมให้น้อง ๆ ได้เปิดประสบการณ์เรียนรู้การเป็นนักบริหารและผู้ประกอบการ ร่วมกันค้นหาไอเดียธุรกิจเพื่อชิงรางวัล และพาน้อง ๆ ไปชมกระบวนการดำเนินธุรกิจ ณ โรงงาน อิชิตัน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) สำหรับผู้ที่สนใจสามารถสมัครและลงทะเบียนออนไลน์โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น สมัครได้ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป ลงทะเบียนออนไลน์ได้ที่ https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfynd8bJRK71k_XGYe3qOAEvdgpgoqoxiM50fltFjExJK84Dw/viewform
วช.-ส.กีฬาเครื่องบินจำลองฯ นำโดรน 500 ลำ บินแปรอักษร งาน “มหาทานบารมี ประเพณีบุญผะเหวด ร้อยเอ็ด”
วช. ผนึกกำลัง สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลอง นำนวัตกรรมโดรนแปรอักษรส่งเสริมการท่องเที่ยว จ.ร้อยเอ็ด ในงาน “มหาทานบารมี ประเพณีบุญผะเหวด ร้อยเอ็ด” ซึ่งเป็นประเพณีสืบสานความเชื่อ ความศรัทธา ทางพระพุทธศาสนาของจังหวัด สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษาฯ ร่วมกับ สมาคมกีฬาเครื่องบินจำลองและวิทยุบังคับ และจังหวัดร้อยเอ็ด จัดพิธีเปิดกิจกรรมการส่งเสริมการนำนวัตกรรมโดรนแปรอักษรเพื่อการท่องเที่ยว เฉลิมฉลองงานบุญสุดยิ่งใหญ่ “มหาทานบารมี ประเพณีบุญผะเหวด ร้อยเอ็ด ประจำปี 2567” โดยมี นายทรงพล ใจกริ่ม ผู้ว่าราชการจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นประธาน ร่วมด้วย นายบรรจง โฆษิตจิรนันท์ นายกเทศมนตรีเมืองร้อยเอ็ด และดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ณ บึงพลาญชัย
ท่องชุมชนไทยโบราณอย่างเสมือนจริงกับ Historicovator นวัตกรรมสื่อเสริมการเรียนรู้ จากอาจารย์ครุศาสตร์ จุฬาฯ
ประวัติศาสตร์เรียนสนุกด้วย Historicovator นวัตกรรมสื่อ Metaverse เพื่อการเรียนรู้อดีตด้วยตัวเอง ผลงานอาจารย์ครุศาสตร์ จุฬาฯ คว้าหลายรางวัลจากงานประกวดนวัตกรรม iCAN 2023 ณ ประเทศแคนาดา ไม่ต้องท่องตำรา การเรียนประวัติศาสตร์ยุคใหม่ใช้การท่องไปโลกอดีตด้วยเทคโนโลยีสื่อสมัยใหม่ ที่จะพาผู้เรียนไปมีประสบการณ์อย่างเสมือนจริง ดังเช่นนวัตกรรมสื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ “Historicovator” ที่รองศาสตราจารย์ ดร.รัชนีกร หงส์พนัส ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สร้างสรรค์ขึ้นเพื่อให้ประวัติศาสตร์เป็นเรื่องสนุกและทันสมัย “Historicovator ใช้เทคโนโลยีจำลองความเสมือนจริง (metaverse) ที่มีประสิทธิภาพในการส่งเสริมการเรียนรู้ด้วยตนเองของผู้เรียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ ผู้เรียนจะได้สำรวจโลกของอดีตได้อย่างไร้ขีดจำกัด สัมผัสประสบการณ์ในอดีตอย่างเสมือนจริง ซึ่งจะช่วยเพิ่มความรู้ความเข้าใจในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์และเชื่อมโยงกับโลกปัจจุบันได้ การเรียนประวัติศาสตร์จะกลายเป็นประสบการณ์ที่สนุกสนานและมีความหมายกับผู้เรียน” รศ.ดร.รัชนีกร กล่าว Historicovator (Metaverse
จังหวัดบุรีรัมย์ เรียกเสียงฮือฮาอีกครั้ง เนรมิต Colors of Buriram งานผ้าไทยครั้งยิ่งใหญ่แห่งปีที่เปิดประตูอาณาจักรองค์ความรู้ของเส้นทางสายไหมจังหวัดบุรีรัมย์จากอดีตถึงปัจจุบัน ด้วยการนำเสนอนิทรรศการรูปแบบทันสมัย ชูหัตถศิลป์พื้นถิ่นสู่ไฮแฟชั่นสุดอลังการ นักท่องเที่ยวและประชาชนแห่สัมผัส ภูมิปัญญา,วัฒนธรรมและความเป็นไทยผ่านผลิตภัณฑ์ผ้าทอนานาชนิด และงานหัตถกรรมต่างๆ มากกว่า 2,000 ชิ้น คาดมีผู้สนใจร่วมงานตลอด 3 วัน มากกว่า 20,000 คน นายนฤชา โฆษาศิวิไลซ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า งาน “Colors of Buriram” เป็นการจัดนิทรรศการแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไทยและงานหัตถกรรมภูมิปัญญาชุมชนภาคตะวันออกเฉียงเหนือครั้งยิ่งใหญ่ที่สุด โดยเมื่อวันที่ 18 มีนาคม 2567 สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา เสด็จมาทอดพระเนตรนิทรรศการ กระบวนการทอผ้าและจัดแสดงผลิตภัณฑ์ผ้าไหม
การแข่งขันฟุตบอลเชื่อมความสัมพันธ์ ระหว่างศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยศิลปากร และศิษย์เก่าโรงเรียนสาธิต มหาวิทยาลัยศิลปากร (มัธยมศึกษา) ในโอกาสครบรอบ 72 ปี ศาสตราจารย์ ดร.คณิต เขียววิชัย และเข้ารับตำแหน่งคณบดีคณะศึกษาศาสตร์ พร้อมด้วย นายสุริยะ เชาว์วัย เข้ารับตำแหน่งผู้อำนวยการกองงานวิทยาเขตเพชรบุรี โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.คณิต เขียววิชัย คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ เป็นประธานเปิดงานและเข้าร่วมการแข่งขัน ประเภททีม VIP วันเสาร์ที่ 16 มีนาคม 2567 เวลา 15.00 น. ณ สนามฟุตบอล 50 ปี มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม #www.u-hit.net
อ.นิเทศ ม.รังสิต สนทนาหน้าเลนส์ การสื่อสารผ่านภาพถ่าย กับ “อ.มาร์ค-ภานุพันธ์ กิจแสวง”
ว่ากันว่า “ภาพหนึ่งภาพมีล้านความหมาย” เพราะภาพถ่ายไม่ได้มีไว้เพียงแค่บันทึกความทรงจำ หรือถ่ายเพื่อความสวยงามเท่านั้น แต่ภาพถ่ายสามารถบอกเล่าหรือแชร์มุมมองที่แตกต่างของช่างภาพผู้กดชัตเตอร์ วันนี้จะพาทุกท่านไปเปิดประสบการณ์ การสื่อสารผ่านภาพถ่าย อาจารย์มาร์ค-ภานุพันธ์ กิจแสวง อาจารย์สาขาวิชาการภาพยนตร์ดิจิทัล วิทยาลัยนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต เล่าเกี่ยวกับจุดเริ่มต้นเล็กๆ ในการสนใจถ่ายภาพว่า ประมาณช่วงเรียนปริญญาตรีปี 3 ช่วงนั้นลงเรียนวิชาถ่ายภาพเป็นวิชาโท ประกอบกับเริ่มสนใจจริงจังคือตอนที่โดนกดดันจากครอบครัว ด้วยความที่เราเป็นเด็กนิเทศศาสตร์ ทุกครั้งที่ไปงานหรือมีงาน เขาจะเป็นคนถ่ายภาพให้เรา ซึ่งแน่นอนว่ามาพร้อมกับความคาดหวังว่าเราต้องถ่ายสวย จากจุดนั้นเราก็พยายามพัฒนาตัวเองมาเรื่อยๆ ประกอบกับช่วงฝึกงาน ได้ฝึกในตำแหน่งช่างภาพให้กับ GMM Grammy จึงทำให้เรายิ่งต้องพัฒนาตนเองให้มากกว่าเดิมและต่อยอดเรื่อยๆ มาจนถึงปัจจุบัน “งานแรกในช่วงที่เริ่มถ่ายภาพใหม่ๆ คือ งานถ่ายภาพรับปริญญาเป็นส่วนใหญ่ ประกอบกับตอนนั้นสนใจงานถ่าย Magazine ด้วย จึงใช้โอกาสบางจังหวะที่มีคนจ้างไปถ่ายงานรับปริญญานอกรอบฝึกเรื่องทิศทางของแสงไปในตัว เมื่อเริ่มมีกลุ่มลูกค้า มีผลงานมากขึ้น ก็ขยับไปรับงานถ่ายภาพที่ Scale