Teacher

              ศูนย์สุวรรณภูมิศึกษา มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมแสดงผลงานแอนิเมชั่น “สุวรรณภูมิ เส้นทางการค้า ข้ามคาบสมุทร” เส้นทางการเดินทางค้าขายในยุคสุวรรณภูมิ จากอ่าวไทยสู่อันดามัน พร้อมนำโมเดลตัวละครไปร่วมโชว์ในบูธ การแสดงนวัตกรรมรวบรวมข้อมูล ประวัติศาสตร์สุวรรณภูมิและการประยุกต์ใช้รูปแบบเกมออนไลน์ ร่วมกับสมาคมปัญญาประดิษฐ์แห่งประเทศไทย และเครือข่ายมหาวิทยาลัย ในงาน Thailand Research Expo 2023 มหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2566 ณ โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชั่นเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ   ศูนย์สุวรรณภูมิศึกษา (ศสภ.) มหาวิทยาลัยรังสิต ได้รับการจัดตั้งขึ้นภายใต้การดำริของท่านอธิการบดี ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2562 ในฐานะหน่วยงานสายสนับสนุนของมหาวิทยาลัยรังสิต มุ่งศึกษาและรวบรวมองค์ความรู้แบบบูรณาการเชื่อมโยงประวัติศาสตร์ มานุษยวิทยา ศิลปกรรม

  วิทยาลัยดนตรี มหาวิทยาลัยรังสิต เปิดรับสมัครครูดนตรี และผู้สนใจทั่วไป เข้าร่วมสัมมนาวิชาการ “โครงการพัฒนาศักยภาพครูดนตรี ครั้งที่ 10” (Music Teacher Training Institute 10) ระหว่างวันที่ 9 – 11 สิงหาคม 2566 เพื่อให้ความรู้ พัฒนา และแชร์ประสบการณ์ด้านดนตรีร่วมกัน โดยเปิดสัมนาในหัวข้อต่างๆ อาทิ Musical Form, Jazz Studies, Classical Music, Music Production และ Vocal เป็นต้น สำหรับบุคคลทั่วไปมีค่าสมัครเข้าร่วมโครงการ 3,800 บาท นิสิตนักศึกษา 2,600 บาท สำหรับผู้ที่สนใจเข้าร่วมโครงการสอบถามเพิ่มเติม โทร. 02-7916262 หรืออีเมล์มาที่ MTTIRSUMUSIC@gmail.com เปิดรับสมัครตั้งแต่วันนี้ ถึง 4 สิงหาคม 2566     #https://u-hit.net/

            ฝ่ายญี่ปุ่นสัมพันธ์ และวิทยาลัยศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต ให้การต้อนรับ Mr. Yasuhiro Yabuzoe และคณะผู้บริหาร จาก Wakayama College of Global Business ประเทศญี่ปุ่น ในการเดินทางเยี่ยมเยียนมหาวิทยาลัยรังสิต และหารือความร่วมมือทางวิชาการ เตรียมความพร้อมด้านการแลกเปลี่ยนนักศึกษาระหว่างกัน โดยได้รับเกียรติจาก ดร.เชาว์ เต็มรักษ์ ผู้ช่วยอธิการบดีฝ่ายญี่ปุ่นสัมพันธ์ และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ปิยสุดา ม้าไว้ คณบดีวิทยาลัยศิลปศาสตร์ ณ ห้องประชุมวิทยาลัยศิลปศาสตร์ อาคาร Student Center (อาคาร 6) มหาวิทยาลัยรังสิต   #https://u-hit.net/

อาจารย์แนะแนว โรงเรียนสาธิตจุฬาฯ ฝ่ายมัธยม ไข 16 คำถามยอดฮิตจากเด็ก TCAS 66 ให้หลักคิดเลือกเรียนคณะที่ใช่ ตรงกับใจและความถนัด เพื่อที่จะเรียนและใช้ชีวิตมหาวิทยาลัยได้อย่างมีความสุข พร้อมแนะวิธีคุยกับผู้ใหญ่ให้เข้าใจเส้นทางการเรียนที่เลือก   ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เป็นช่วงที่เป็นหัวเลี้ยวหัวต่อของน้องๆ นักเรียนหลายคน เนื่องจากเป็นช่วงที่เราจะต้องเตรียมตัวสอบเขามหาวิทยาลัย และค้นหาตัวเองว่าในอนาคตเราจะเลือกเรียนสาขาวิชาอะไรที่เราสามารถอยู่กับมันและใช้วิชาความรู้เหล่านั้นหาเลี้ยงชีพได้ สำหรับน้องๆ ที่มีสาขาวิชาและมหาวิทยาลัยในฝันแล้วก็เป็นช่วงเวลาที่ต้องพยายามเพื่อทำให้ความฝันของเราเป็นจริง แต่เชื่อว่ายังมีน้อง ๆ อีกหลายคนที่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเรียนต่อที่คณะหรือมหาวิทยาลัยไหนดี มีคำถามมากมายที่วนเวียนอยู่ในใจ และยังคิดไม่ตกกับอนาคตข้างหน้า ในบทความนี้ จึงได้รวบรวมคำถามสำคัญ 16 ข้อที่น้อง ๆ ระดับมัธยมอยากรู้เกี่ยวกับแนวทางการเลือกเรียนในระดับมหาวิทยาลัย และได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.รับขวัญ ภูษาแก้ว หัวหน้าศูนย์แนะแนว โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม มาแนะนำข้อคิดดี ๆ เพื่อให้การตัดสินใจครั้งสำคัญนี้มีส่วนช่วยให้นัอง ๆ เรียนและใช้ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัยได้อย่างมีความสุข   อาจารย์ ดร.รับขวัญ ภูษาแก้วโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม   1.เลือกคณะไหนดี? เลือกคณะที่ชอบ

  น.ส.กุลแก้ว คล้ายแก้ว นักศึกษาหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการจัดการนันทนาการ การท่องเที่ยวและกีฬา รุ่น 1  มหาวิทยาลัยศิลปากร เข้าสอบวิทยานิพนธ์ เรื่อง The Development Model of a New Identity of Glamping within the Context of World Heritage Tourism in Thailand โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.สมบัติกาญจนกิจ เป็นประธานสอบฯ และ ศาสตราจารย์ ดร.คณิต เขียววิชัย ที่ปรึกษาหลักสูตรฯและคณะกรรมการสอบ รองศาสตราจารย์ ดร.วรรณวีร์ บุญคุ้ม,

            เมื่อวันที่ 24-26 พฤษภาคม 2566 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง กระบวนการจัดทำแผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Action Plan) ของคณะครุศาสตร์ 5 ปี (2566-2570) เพื่อให้คณาจารย์และบุคลากรเกิดความเข้าใจอันดีในการจัดทำแผนอื่นๆ ให้สอดคล้องกับแผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ของคณะครุศาสตร์ โดยมี ผศ.ดร วาสนา สังข์พุ่ม คณบดีคณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี พร้อมคณะผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ อีกทั้งยังได้แผนปฏิบัติการเชิงยุทธศาสตร์ของคณะครุศาสตร์ 5 ปี ในการนี้ได้รับเกียรติจาก อาจารย์ ดร.เพ็ญพร ทองคำสุก