Blog
คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ โดย นโยบายของ ดร.วิเชียร ชุบไธสง นายกสภาทนายความ, นายสัญญาภัชระ สามารถ อุปนายกฝ่ายปฏิบัติการสภาทนายความ จัดกิจกรรมสัญจรเพื่อสังคม ครั้งที่ 1/2567 ให้ความรู้เรื่องสิทธิมนุษยชนเบื้องต้นตามหลักกฎหมายสำหรับเด็กและเยาวชน พร้อมเปิดตัวเพจ “ทนายตอบให้” เมื่อวันศุกร์ที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 คณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนด้านเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ สภาทนายความในพระบรมราชูปถัมภ์ นำโดย นางสาวิตรี รุจิเทศ ประธานคณะอนุกรรมการฯ, นายธีรธร มรกตจินดา รองประธานอนุกรรมการฯ และคณะอนุกรรมการ ดร.ชัดติยาพร คำแสน, นางสาวอัจฉรา พันธ์แสง, นายบัณฑิต
คณะกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา มหาวิทยาลัยรังสิต ร่วมกับ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ลงนามความร่วมมือพัฒนาวิชาการด้านกายภาพบำบัด นายแพทย์ศุภชัย คุณารัตนพฤกษ์ รองอธิการบดีฝ่ายการแพทย์และวิทยาศาสตร์สุขภาพ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือครั้งนี้เป็นอีกความร่วมมือหนึ่งที่มหาวิทยาลัยรังสิต และกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ประสานงานร่วมกัน ที่ผ่านมาทั้งสองสถาบันได้มีความร่วมมือในด้านการศึกษาต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นความร่วมมือทางด้านการผลิตแพทย์ การผลิตนักศึกษาระดับปริญญาโทของสถาบันโรคผิวหนัง และอื่นๆ รวมถึงความร่วมมือกับคณะกายภาพบำบัดและเวชศาสตร์การกีฬา ในการผลิตนักกายภาพบำบัด หลักสูตรระยะสั้นกายภาพบำบัดเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพระยะกลาง ซึ่งคาดหวังว่าภายใต้การนำของอธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และผู้อำนวยการสถาบันสิรินธรฯ เราจะสามารถพัฒนาความร่วมมือกันให้มากขึ้นและหลากหลายขึ้น โดยกรมการแพทย์มีจุดแข็งมากมายในด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ด้านบุคลากร เครื่องมือ ทางมหาวิทยาลัยรังสิตก็มีจุดแข็งด้านวิชาการ ซึ่งมีโอกาสที่จะสนับสนุนในทางวิจัย ดังนั้น การจัดอบรมหลักสูตรระยะสั้นร่วมกันครั้งนี้จะเป็นประโยชน์และพัฒนาวิชาชีพกายภาพบำบัดได้อย่างต่อเนื่อง แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข
นักวิจัยจุฬาฯ สร้างผลงาน Cello-gum นวัตกรรมจากเศษวุ้นมะพร้าวเหลือทิ้ง สู่วัตถุดิบอาหารพันล้าน
Cello-gum (เซลโลกัม) ผลิตภัณฑ์ที่มาจากความร่วมมือระหว่างนักวิจัยจุฬาฯ กับบริษัทอุตสาหกรรมอาหาร อย่าง อำพลฟู้ดส์ ที่แปรเศษวุ้นมะพร้าวเหลือทิ้งนับเป็นตัน ๆ ต่อวัน ให้กลายเป็นสารเติมแต่ง ประสิทธิภาพสูง ที่นำกลับมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร ยา และเครื่องสำอาง ลดการนำเข้าสารเติมแต่งที่ประเทศไทยต้องจ่ายปีละกว่าหมื่นล้านบาท! ทีมนักวิจัยมั่นใจ ความสำเร็จที่เกิดขึ้นจะเป็นโมเดลให้กับการพัฒนาตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (circular economy) ที่จะเพิ่มมูลค่าเศษเหลือทิ้งจากอุตสาหกรรมอาหารและการเกษตร เพื่อสังคม Zero Waste – ที่จะไม่มีอะไรเหลือทิ้งให้ถูกกำจัดด้วยการเผาอีกต่อไป “Cello-gum” เซลโลกัม คือผลิตภัณฑ์นาโนเซลลูโลสจากวุ้นมะพร้าว ซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีอยู่ในประเทศ เศษวุ้นมะพร้าวที่เหลือทิ้งเป็นขยะจากกระบวนการผลิตวุ้นมะพร้าว ถูกดัดแปลงให้เป็นผลิตภัณฑ์ที่สามารถนำไปใช้เป็นสารเติมแต่งในอาหาร ยาและเครื่องสำอาง ศ.ดร.หทัยกานต์ มนัสปิยะ ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ (PETROMAT) และอาจารย์ประจำวิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และหนึ่งในผู้ก่อตั้ง
เจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานสมัชชามหาคณิสสรเจ้าคณะใหญ่หนตะวันออก พระเทพประสิทธิมนต์ เจ้าอาวาสวัดศรีสุดาราม วรวิหาร ที่ปรึกษาเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร พระพรหมโมลี กรรมการมหาเถรสมาคม แม่กองบาลีสนามหลวง เจ้าคณะภาค 5 ผู้รักษาการเจ้าคณะใหญ่หนเหนือ เจ้าอาวาสวัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ศ.ดร.บังอร เบ็ญจาธิกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี (มกธ.) นพ.ภูริทัต แสงทองพานิชกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชพิพัฒน์ ร่วมประกอบพิธีเปิดศูนย์รังสีวินิจฉัย ศูนย์หัวใจและไต โรงพยาบาลราชพิพัฒน์ สำนักการแพทย์ กรุงเทพมหานคร โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานพิธีฝ่ายสงฆ์เจิมเครื่อง CT SCAN ประพรมน้ำพระพุทธมนต์ พร้อมเจริญชัยมงคลคาถาประกอบพิธีดังกล่าวด้วย ในการนี้ รศ.ดร.ดวงฤทธิ์ เบ็ญจาธิกุล ชัยรุ่งเรือง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พร้อมด้วยผู้บริหาร
ศ.ดร.บังอร เบ็ญจาธิกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี (มกธ.) และ ศาสตราจารย์พิเศษ ทพญ. ท่านผู้หญิงเพ็ชรา เตชะกัมพุช ประธานกรรมการมูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ได้พัฒนาความร่วมมือทางวิชาการวิชาชีพด้านทันตแพทยศาสตร์เพื่อส่งเสริมความเข้มแข็ง ความก้าวหน้าทางด้านการเรียนการสอน การวิจัย เทคโนโลยีทางการแพทย์ เพื่อให้เอื้อประโยชน์ต่อการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้อง และการพัฒนาสังคมโดยรวม จึงได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) ในการวิจัยและพัฒนาความร่วมมือทางวิชาการ ระหว่างมูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี โดยมี ศ.ดร.บังอร เบ็ญจาธิกุล และ คุณวรวุฒิ กุลแก้ว เลขาธิการ มูลนิธิทันตนวัตกรรม ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือดังกล่าว พร้อมด้วย รศ.ทพ.ทองนารถ คำใจ คณบดีคณะทันตแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี และ คุณกมลชนก
คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ม.ศิลปากร ระดมสมองคณะกรรมการอำนวยการประชาสัมพันธ์ รุกเสริมสร้างการรับรู้ที่ดีสู่สังคม
ประชุมคณะกรรมการอำนวยการประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2567 ณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โดยเป็นการจัดการประชุมคณะกรรมการอำนวยการประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร ครั้งที่ 1/2567 เพื่อดำเนินการจัดทำภารกิจ เป้าหมายของคณะกรรมการอำนวยการประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์กร และเพื่อเป็นการเสริมสร้างการรับรู้ที่ดีทั้งภายในและภายนอกองค์กร โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.คณิต เขียววิชัย คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ ที่ปรึกษาคณะกรรมการฯ พร้อมด้วย อาจารย์ ดร.วิชิต อิ่มอารมย์ ประธานคณะกรรมการฯ นายอิทธิพันธ์ บัวทอง นายกสมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย นายธารา อิสสระ กรรมการผู้จัดการ บริษัทไอเอดดูเคชั่นโซน จำกัด นายศักดิ์รพี วดีศิริศักดิ์ บรรณาธิการสำนักข่าวการศึกษาไทย และคณะผู้บริหาร เลขานุการคณะฯ
ศาสตราจารย์ ดร.คณิต เขียววิชัย คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร พร้อมด้วย อ.เสถียร มนต์คงธรรม ประธานบริหารบริษัท ไทยเทนนิสแม็กกาซีน จำกัด ร่วมลงนามในพิธีลงนามความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการ ในการพัฒนาบุคลากรเพื่อวงการกีฬาเทนนิสประเทศไทย ณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 22 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา ภาพและข่าว : ไทยเทนนิสแม็กกาซีน #https://u-hit.net/
รศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี กล่าวว่า มทร.ธัญบุรี ได้เริ่มโครงการนำร่องสหกิจศึกษาตั้งแต่ปี 2544 โดยเริ่มที่คณะวิศวกรรมศาสตร์ และคณะบริหารธุรกิจ ต่อจากนั้นขยายไปยังทุกคณะของมหาวิทยาลัย เพราะต้องการให้แต่ละหลักสูตรได้รับประสบการณ์วิชาชีพสหกิจศึกษาและการศึกษาเชิงบูรณาการกับการทำงาน Cooperative and Work Integrated Education ( CWIE) ซึ่งในปี 2566 ที่ผ่านมามีนักศึกษาเข้าร่วมโครงการสหกิจศึกษาเกือบ 4 พันคน การที่มทร.ธัญบุรีให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ทำให้การผลิตบัณฑิตตรงกับความต้องการของสถานประกอบการ นักศึกษาได้ฝึกประสบการณ์จริงก่อนทำงาน ปัจจุบันมีหน่วยงานและสถานประกอบการเข้าร่วมโครงการสหกิจ 1,500 บริษัท รวมถึงมีการขยายโครงการสหกิจไปยังต่างประเทศ โดยนักศึกษาจะฝึกงานตามสถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยและบริษัทชั้นนำ เช่น ญี่ปุ่น จีน อินโดนีเซีย อเมริกา โดยมหาวิทยาลัยให้ทุนกับนักศึกษาที่ไปฝึกยังต่างประเทศด้วย