วันนี้ทีมข่าวมีคณะที่น่าสนใจ เนื่องจากเป็นศาสตร์ที่สอนให้เรียนรู้รอบด้าน ควบคู่การปฏิบัติอย่างจริงจัง ทันยุคสมัยไม่มีคำว่าตกงาน มาแนะนำให้น้อง ๆ ได้รู้จัก คือ คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ถ้าถามว่าเรียนคณะศิลปกรรมศาสตร์สวนสุนันทาจะได้เรียนอะไร และมีสาขาอะไรบ้าง แล้วแต่ละสาขา จบไปแล้วสามารถทำอาชีพอะไร ? บอกได้เลยว่าเยอะและหลากหลายมาก ตามมามุงดูกันเลย…
ก่อนอื่นเรามาทำความรู้จักกับคณะศิลปกรรมศาสตร์ ตั้งอยู่ในภูมิทัศน์ที่เด่นเป็นสง่า ติดกำแพงแดงด้านถนนราชวิถี มีโรงละคร หอศิลป์ รวมทั้งห้องปฏิบัติการทางวิชาชีพด้านศิลปะ ออกแบบ ดนตรี นาฏศิลป์ และการละคร เมื่อครั้งที่มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทาครบรอบ 75 ปี (พ.ศ. 2555) สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10 (ซึ่งในขณะนั้นทรงดำรงพระราชอิสริยยศเป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯสยามมกุฎราชกุมาร)ทรงพระราชทานพระนามาภิไธยย่อ “ม.ว.ก.” และพระราชทานนาม “อาคารเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา มหาวชิราลงกรณ” เป็นอาคารคณะศิลปกรรมศาสตร์ในปัจจุบัน
คณะศิลปกรรมศาสตร์ได้จัดการศึกษา และให้บริการวิชาการด้านศิลปะ ออกแบบ ดนตรี นาฏศิลป์และการละคร โดยปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรตามความต้องการของสังคมมาอย่างต่อเนื่อง ปัจจุบันมีหลักสูตรระดับปริญญาบัณฑิต มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิต ดังนี้
1.สาขาวิชาจิตรกรรม
มีการเรียนการสอนอะไรบ้าง ?
- การวิเคราะห์จิตรกรรม
- Drowning
- งานปั้น
- การวาดเส้น
- ศิลปะ คอมพิวเตอร์
- ภาพพิมพ์สกรีน
- การจัดนิทรรศการศิลปะ
- เป็นต้น
จบไปทำอาชีพอะไร ?
- ศิลปินอิสระทางศิลปะภาพพิมพ์
- นักวิชาการทางศิลปะ
- รับราชการฝ่ายศิลป์ ช่างศิลป์
- เจ้าของกิจการโรงพิมพ์ ออกแบบสื่อสิ่งพิมพ์
- พนักงานบริษัทฝ่ายศิลป์ โฆษณา ออกแบบฯ
- นักพัฒนาวิชาชีพทางศิลปะภาพพิมพ์ ศิลปกรรมประยุกต์
- นักสร้างสรรค์ที่สามารถใช้เทคโนโลยีบูรณาการกับงานศิลปะภาพพิมพ์
- อาชีพอิสระ นักออกแบบทางศิลปะภาพพิมพ์ นักสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์
- ผู้จัดการธุรกิจทางศิลปะ และอีกมากมาย
ข้อมูลเพิ่มเติมของสาขา : คลิก
2.สาขาวิชาการออกแบบนิเทศศิลป์
มีการเรียนการสอนอะไรบ้าง ?
- การวาดเส้นพื้นฐานเพื่องานออกแบบ
- จิตรกรรมพื้นฐาน
- วัสดุและเทคนิคทางการออกแบบ
- การออกแบบด้วยคอมพิวเตอร์
- นิเทศศิลป์เบื้องต้น
- การเขียนแบบพื้นฐาน
- การออกแบบโฆษณา
- การออกแบบสิ่งพิมพ์ในยุคดิจิทัล เป็นต้น
จบไปทำอาชีพอะไร ?
- ครู อาจารย์ ในสถาบันการศึกษาต่างๆ
- นักออกแบบกราฟิกในหน่วยงานราชการ หรือองค์กรเอกชน
- นักออกแบบโฆษณา
- นักออกแบบเว็บไซต์
- นักออกแบบสิ่งพิมพ์
- นักสร้างภาพยนตร์และอนิเมชั่น ทั้งในตำแหน่งผู้กำกับหรือทีมถ่ายทำ ตัดต่อ ฯลฯ
- ช่างภาพ
- นักวาดการ์ตูน
- นักเขียน/นักวิจารณ์ด้านนิเทศศิลป์
- ธุรกิจส่วนตัว และอีกมากมาย
ข้อมูลเพิ่มเติมของสาขา : คลิก
3.สาขาวิชาการออกแบบแฟชั่นและสินค้าไลฟ์สไตล์
แขนงวิชาการการออกแบบแฟชั่น
มีการเรียนการสอนอะไรบ้าง ?
- ประวัติศาสตร์เครื่องแต่งกาย
- หลักการวาดโครงหุ่น
- การตัดเย็บเบื้องต้น
- พื้นฐานการออกแบบแฟชั่นและการผลิต
- การออกแบบแฟชั่นด้วยคอมพิวเตอร์
- การสร้างสรรค์เทคนิคงานออกแบบแฟชั่น
- การนำเสนอและการจัดแสดงผลงานแฟชั่น
- เป็นต้น
จบไปทำอาชีพอะไร ?
- ดีไซเนอร์
- เจ้าของแบรนด์เสื้อผ้า
- บรรณาธิการนิตยสารแฟชั่น
- สไตลิสต์
- แฟชั่นบล็อกเกอร์
- คอสตูมเมคเกอร์
- ช่างแพทเทิร์น
- และอีกมากมาย
ข้อมูลเพิ่มเติมของสาขา : คลิก
แขนงวิชาการออกแบบสินค้าไลฟ์สไตล์
การเรียนการสอน
- การเขียนแบบสินค้าไลฟ์สไตล์ด้วยคอมพิวเตอร์
- คอมพิวเตอร์ในการออกแบบสินค้าไลฟ์สไตล์
- ภูมิปัญญาร่วมสมัยกับสินค้าไลฟ์สไตล์
- การสื่อสารกับการออกแบบ
- แนวคิดในการออกแบบ
- การออกแบบเฟอร์นิเจอร์ไลฟ์สไตล์
- การออกแบบเครื่องใช้บนโต๊ะอาหารและในครัว
- เป็นต้น
จบไปทำอาชีพอะไร ?
- กราฟิกดีไซน์เนอร์
- อาร์ตไดเร็กเตอร์
- และอีกมากมาย
ข้อมูลเพิ่มเติมของสาขา : คลิก
4.สาขาวิชาศิลปะการแสดง
แขนงวิชานาฏศิลป์ไทย
มีการเรียนการสอนอะไรบ้าง ?
- นาฏศิลป์ไทยเบื้องต้น (ตัวพระ)
- นาฏศิลป์ไทยเบื้องต้น (ตัวนาง)
- ระบำมาตรฐาน (ตัวพระ)
- ระบำมาตรฐาน (ตัวนาง)
- กลวิธีรำตามขนบของการแสดง
- การแสดงละครรำ
- วรรณกรรมสำหรับการแสดง
- กายวิภาคของผู้แสดง
- นาฏยศัพท์ และภาษานาฏศิลป์
- เป็นต้น
จบไปทำอาชีพอะไร ?
- ศิลปินด้านนาฏศิลป์และการละคร
- นักออกแบบสร้างสรรค์ทางด้านนาฏศิลป์และการละคร
- นักวิชาการด้านนาฏศิลป์และการละคร/ศิลปวัฒนธรรมของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชน
- นักจัดการธุรกิจการแสดง
- นักปฏิบัติการทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลังทางด้านการแสดง
- เจ้าของกิจการทางด้านนาฏศิลป์และการละคร
- และอีกมากมาย
ข้อมูลเพิ่มเติมของสาขา : คลิก
แขนงวิชาศิลปะการละครและความเป็นผู้ประกอบการสร้างสรรค์
มีการเรียนการสอนอะไรบ้าง ?
- การแสดงเบื้องต้น
- พื้นฐานการเคลื่อนไหวร่างกายและการเต้น
- พื้นฐานการกำกับสำหรับการแสดงสร้างสรรค์
- งานฉากและเวที
- การแต่งหน้าเพื่อการแสดงและบอดี้เพ้นท์
- การสร้างและนำเสนอเรื่องเล่า
- เป็นต้น
จบไปทำอาชีพอะไร ?
- นักสร้างสรรค์รายการ (Creative)/นักเขียนบทรายการ (Script Writers)
- ผู้เชี่ยวชาญทางการผลิตรายการ (Production Specialists)
- ช่างกล้อง (Camera Operators)
- ช่างตัดต่อเสียง (Sound Editors)
- ช่างตัดต่อภาพ (Editors)
- ช่างควบคุมภาพ (Television Control Operators)
- ช่างควบคุมเสียง (Radio Control Operators)
- ผู้ผลิตรายการ (Program Producers)/ผู้ช่วยผู้ผลิตรายการ (Assistants to Program Producer)
- ผู้กำกับรายการ (Program Directors) /ผู้ช่วยผู้กำกับรายการ (Assistants to Program Director)
- พิธีกร/ผู้ดำเนินรายการ Master of Ceremony
- ฝ่ายการตลาดรายการ (Program Marketing)
- และอีกมากมาย
ข้อมูลเพิ่มเติมของสาขา : คลิก
5.สาขาวิชาดนตรี
มีการเรียนการสอนอะไรบ้าง ?
- แบ่งเป็นสองประเภทที่สำคัญหลักๆคือ ดนตรีไทย – ดนตรีตะวันตก
- ทักษะพื้นฐานดนตรี
- ทฤษฎีดนตรีไทย 1-2
- ดนตรีไทยร่วมสมัย
- ภาษาอังกฤษเพื่อการศึกษาดนตรี
- สัมมนาศิลปกรรมศาสตร์
- การแสดงเดี่ยวดนตรี
- เป็นต้น
จบไปทำอาชีพอะไร ?
- นักเรียบเรียง (เครื่อง) ดนตรี
- นักร้อง
- นักดนตรีมืออาชีพ
- ทำวงดนตรี
- โปรดิวเซอร์ให้วงดนตรี
- คนทำเพลงประกอบโฆษณา
- เป็นนักการตลาดด้านดนตรีโดยตรง
- คนทำเพลงประกอบ “แฟชั่นโชว์”
- นักวิจารณ์เพลงที่มีเหตุผลและคุณภาพ
- และต่างๆอีกมากมาย
ข้อมูลเพิ่มเติมของสาขา : คลิก
6.สาขาวิชาการออกแบบและนวัตกรรมดิจิทัล
มีการเรียนการสอนอะไรบ้าง ?
- การวาดเส้นพื้นฐานเพื่องานออกแบบ
- ประวัติศาสตร์ศิลป์และการออกแบบ
- กระบวนการคิดเชิงออกแบบและศิลปะการเล่าเรื่อง
- การเขียนแบบด้วยคอมพิวเตอร์
- การสร้างภาพสามมิติพื้นฐาน
- โครงสร้างพื้นฐานสำหรับงานออกแบบ
- การออกแบบสภาพแวดล้อมด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล
- เทคโนโลยีแบบจำลองสารสนเทศอาคารพื้นฐาน
- นวัตกรรมด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพี่ออนาคต
- เป็นต้น
จบไปทำอาชีพอะไร ?
- นักพัฒนานวัตกรรมดิจิทัล (Digital Innovative Developer)
- เจ้าหน้าที่วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic product research and development officer)
- นักวิจัยและพัฒนาฮาร์ดแวร์ แผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์และการออกแบบประดิษฐภัณฑ์ (R&D Electronics Hardware & PCB design)
- นักพัฒนาซอฟต์แวร์ประยุกต์นวัตกรรมดิจิทัล (Digital Innovation Programmer)
- วิศวกรฝ่ายขายผลิตภัณฑ์ ในหน่วยงานเอกชน (Product Sales Engineer)
- นักพัฒนาแอปพลิเคชันและอินเทอร์เน็ตประสานสรรพสิ่ง (Mobile Application and IOT Consultant)
- เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ (IT Support)
- งานอิสระ (Freelance) ตามความถนัดและความสามารถทางด้านนวัตกรรมดิจิทัลของตัวเอง
- เจ้าของธุรกิจวิสาหกิจเริ่มต้น ระบบควบคุมแบบสมาร์ท (Startup Smart-Control System)
- และอีกมากมาย
ข้อมูลเพิ่มเติมของสาขา : คลิก
สำหรับในระดับ มหาบัณฑิต และดุษฎีบัณฑิตนั้น ประกอบด้วย
หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มี 1 สาขาวิชา
- สาขาวิชาศิลปะการแสดง
หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มี 2 สาขาวิชา
- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
- สาขาวิชาดนตรี
หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มี 3 สาขาวิชา
- สาขาวิชาศิลปะการแสดง
- สาขาวิชาทัศนศิลป์และการออกแบบ
- สาขาวิชาดนตรี
ใครเด็กสายศิลป์บอกได้เลยว่า คณะศิลปกรรมศาสตร์แต่ละสาขาของที่นี่นั้น มีการเรียนที่หลากหลายและสอนตั้งแต่เบื้องต้น สอนกันตั้งแต่พื้นฐาน และเป็นที่เปิดกว้างให้นักศึกษาได้แสดงฝีมือ และความเป็นตัวเองออกมาได้เต็มที่และยังมีการเรียนที่หลากหลายไม่มีกรอบมีอาจารย์คอยให้คำแนะนำอยู่ตลอด นอกจากนี้ยังมีการส่งออกไปฝึกประสบการณ์นอกสถานที่ เป็นผู้ประกอบการ เรียกได้ว่าจบครบในที่เดียว ขอแค่น้อง ๆ มีใจรักก็สามารถเข้าเรียนคณะนี้ได้สบาย ๆ แน่นอน
สามารถสมัครเรียนได้ทาง https://admission.ssru.ac.th/ หรือ สามารถติดต่อสอบถามและติดตามข่าวสารได้ทาง Facebook Fanpage : คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา website : https://far.ssru.ac.th/ หรือ โทร. 02-160-1390-91 ต่อ 100